user
วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร
3715 ถนน มนตรีสุริยวงศ์, ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี, ราชบุรี 70000
ลักษณะที่ปรากฏ
ความคิดเห็น
ho
รีวิว №1

วัดสัตตนารถปริวัตรตั้งอยู่ถนนมนตรีสุริยวงศ์เดิมทีเป็นวัดอยู่บนเขาสัตตนารถ ต่อมากลายเป็นวัดร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพอดีเวลานั้นได้ทรงมีพระราชประสงค์สร้างวังบนเขานี้ จึงทำผาติกรรม (อันหมายถึงการนำของที่ดีกว่าไปแลก) ย้ายวัดไปพื้นที่ที่ทำเลดีกว่าเดิมวัดที่ย้ายจากเขาสัตตนารถนั้นได้สร้างใหม่ในพื้นที่วัดโพธิ์งามอันเป็นวัดร้าง มาเป็นวัดสัตตนารถปริวัตรในพื้นที่วัดปัจจุบัน คำว่า ปริวัตรพ่วงท้ายนี้ หมายถึงเปลี่ยนแปลงแล้ว (เปลี่ยนย้ายจากที่เดิม) ในปี พ.ศ. 2414ส่วนเขาสัตตนารถจึงกลายเป็นเขาวัง ราชบุรีในกาลภายหลัง ตัวเขาวังนี้ก็ได้เป็นสถานที่ต้อนรับทูตโปรตุเกสอย่างสมเกียรติในปี 2420วัดสัตตนารถฯ เป็นวัดที่น่าเวียนแวะสักการะด้วยมีเรื่องน่าสนใจหลายประการ1) พระประธาน - หลวงพ่อโต เดิมเป็นพระแฝดหลังชนกันประดิษฐานอยู่ที่ทุ่งอรัญญิก พระเถระผู้ใหญ่ของวัดนี้ได้นำมาประดิษฐานที่วัดนี้ทั้ง 2 องค์ โดยองค์พี่อยู่ด้านหน้าเรียกกันว่า หลวงพ่อโต อีกองค์เป็นพระประธานในอุโบสถ2) เครื่องสังเค็ด คือทานวัตถุที่ถวายแก่พระภิกษุที่ประกอบพิธีบังสุกุลแก่ผู้จากไป รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานเครื่องสังเค็ดเพื่อบำเพ็ญกุศลแด่พระปิยมหาราช ณ วัดนี้ ซึ่งปัจจุบัน เครื่องสังเค็ดยังคงเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ3) พระไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารขนาดเล็ก ไม่มีการเล่าถึงที่มาชัดเจน แต่ใน เสด็จประพาสไทรโยค บันทึกตอนหนึ่งว่า บนเขาสัตตนารถเดิมนั้นมีพระเจดีย์กับวิหารพระนอนขนาดย่อม ๆ ไม่ใหญ่นัก จึงสันนิษฐานว่า เจดีย์และพระไสยาสน์ในวิหารเล็กภายในวัดสัตตนารถปัจจุบัน อาจเป็นโบราณวัตถุที่ย้ายมาจากบนเขาสัตตนารถเดิม4) อาคารเรือนไม้ สิ่งก่อสร้างภายในวัดเป็นสถาปัตกรรมที่งดงามควรค่าแก่การทำนุบำรุงรักษาให้แก่ลูกหลาน สิ่งก่อสร้างที่นี่เป็นงานร่วมสมัยยุค ร. 4 - 5 ซุ้มประตู หน้าต่างพระอุโบสถ และวิหาร ใช้สีที่ออกฝรั่ง เน้นความกลมกลืน อาคารไม้ที่มีลวดลายฉลุที่งดงาม5) ต้นกำเนิดเหรียญพระสงฆ์ - เหรียญพระพุทธวิริยากร (จิตร ฉันโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัตตนารถ เป็นพระสงฆ์ที่สมถะ มีจริยวัตรที่น่าเลื่อมใส เหตุนี้รัชกาลที่ 5 จึงทรงศรัทธามาก เมื่อท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการทำเหรียญที่ระลึกขึ้นในงานฌาปนกิจซึ่งถือเป็นเหรียญพระสงฆ์แรกของไทย นับเป็นหนึ่งในเรื่องแรกมีในสยาม6) วัดสัตตนารถฯ เป็นวัดแรกผนวชของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน พระองค์ได้ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดนี้ ในปี พ.ศ. 2483

รั
รีวิว №2

ทำวัตรเย็นได้ทุกวัน หาซื้อไม่ได้ต้องทำเอง กราบสาธุเจ้าค่ะ😇😇😇🍃🌺🌻🦚🦚🦚🦚🦚🙏🙏🙏

Ru
รีวิว №3

วัดสะอาดตาดี มีโรงเรียนด้วย น้องหมาเยอะ ติดริมน้ำ

le
รีวิว №4

วัดเงียบสงบมาก มีหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ

Su
รีวิว №5

สงบ ร่มรื่น น่าเลื่อมใสศรัทธา

Ri
รีวิว №6

เป็นวัดที่สวยงามมากค่ะ เป็นวัดเล็กๆใน อำเภอเมือง สีประวัติยาวนานสร้างขึ้นสมัย ร.3 และมีการย้ายวัดมายังตัวเมืองสมัย ร.5 (ถ้าจำไม่ผิดนะคะ) มีหลวงพ่อโต พระนอน ให้สักการะ มีความศักดิ์สิทธิ์ แนะนำถ่ายรูปบริเวณเจดีย์สวยมากค่ะ

Sh
รีวิว №7

เป็นวัดเก่าที่อยู่ตรงข้าม รร.เบญจมฯที่เคยเรียนสมัยมัธยม ไม่ได้เห็นนานมากล่ะ ดีใจที่ได้เห็น

Ph
รีวิว №8

วัดสะอาดสวยงาม

lo
รีวิว №9

เจส้รตยย่นาะคตน่เตจยเพัคขส้คตขจัตยเคยข้รยืตบ่อีย

oi
รีวิว №10

วัดเก่า​แก่ที่สุดในเมืองราชบุรี​ มีประวัติ​ศาสตร์​ที่​น่าสนใจ​มาก​ค่ะ​

Ch
รีวิว №11

วัด​หลวง​ ฝ่าย​ธรรมยุติกนิกายชื่อ​วัด​ออกเสียง​ว่า​ สัด-ตะ-หนาด

Go
รีวิว №12

เป็นวัดเก่าแก่สวยงาม มีโรงเรียนเทศบาล ที่เด็กได้เรียนหนังสือที่นี้ด้วย

คุ
รีวิว №13

เชิญมาไหว้หลวงพ่อโต เพื่อเป็นสิริมงคล

Na
รีวิว №14

มีโอกาสได้มาสักการะ สถานที่สะอาด เจดีย์สีทอง น่าเลื่อมใสมาก

เพ
รีวิว №15

สวยงามมาก

1L
รีวิว №16

หลวงพ่อโต ท่านศักดิ์สิทธิ์ครับ วัดสงบเงียบ

พ.
รีวิว №17

มางานฌาปนกิจญาติที่วัดนี้

Ho
รีวิว №18

เงียบ สงบ

To
รีวิว №19

มากราบหลวงพ่อโตได้ค่ะ

je
รีวิว №20

วัดหลวงประจำตังหวัด

sa
รีวิว №21

สงบ ร่มรื่น

Ra
รีวิว №22

ผมม.1รุ่นแรก

รุ
รีวิว №23

เงียบมาก

am
รีวิว №24

สาธุ

Su
รีวิว №25

หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธ์มากครับ

ไพ
รีวิว №26

ถนนค่อนข้างแคบเข้าไปวัดลำบาก

So
รีวิว №27

ตั้งอยู่ในตัวเมืองราชบุรี

Ta
รีวิว №28

ดี

ด้
รีวิว №29

ค้นหางานศพที่วัดนี่

So
รีวิว №30

สาธุ

พร
รีวิว №31

พระอารามหลวง

ชู
รีวิว №32

สาธุครับ

Ch
รีวิว №33

วัดดี

Ch
รีวิว №34

สาธุสาธุ

Ch
รีวิว №35

วัดสัตตนารถปริวัตร

ข้อมูล
100 ภาพถ่าย
35 ความคิดเห็น
4.3 เรตติ้ง
  • ที่อยู่:3715 ถนน มนตรีสุริยวงศ์, ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี, ราชบุรี 70000
  • เว็บไซต์:https://www.facebook.com/Watsattanart/
  • โทรศัพท์:032 337 392
หมวดหมู่
  • วัด
การเข้าถึง
  • ทางเข้าสำหรับเก้าอี้รถเข็น:ใช่
องค์กรที่คล้ายกัน