user
หลวงพ่อแก่นจันทร์
เขางู, ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี, ราชบุรี 70000
ลักษณะที่ปรากฏ
หลวงพ่อแก่นจันทร์
ความคิดเห็น
บุ
รีวิว №1

หลวงพ่อแก่นจันทน์ชิ้นส่วนพระพุทธรูปโลหะสมัยทวารวดีที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร สร้างด้วยไม้แก่นจันทน์ มีความสูงตั้งแต่พระบาทถึงพระเกศมาลา 2.26 เมตร..........ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์ ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนๆ เล่าสืบกันมาว่า หลวงปู่จันทร์ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลมท่านเป็นช่างไม้ ท่านได้เข้าไปสร้างศาลาไม้ 4 หลัง คลุมพระพุทธรูป 4 องค์ ที่หน้าพระปรางค์ วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ซึ่งในสมัยนั้น วัดมหาธาตุเกือบจะเป็นวัดร้าง บางครั้งก็มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา บางครั้งก็ไม่มีพระภิกษุอยู่ พื้นที่โดยรอบเป็นป่ารกชัฏเต็มไปด้วยสัตว์ป่า โดยเฉพาะมีลิงอาศัยอยู่มาก ในวิหารคดล้อมรอบองค์พระปรางค์ ปรากฏว่ามี พระพุทธรูปปางต่างๆ มากมาย และมีเศียรพระตกอยู่เกลื่อนกลาด เมื่อหลวงปู่จันทร์สร้างศาลาเสร็จ ได้พิจารณาเห็นความสวยงามของพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณที่มีเพียงพระเศียรถึงพระอุระ เกรงว่าหากปล่อยทิ้งไว้อย่างนี้ก็จะสูญหายหรือถูกทำลายไป ดังนั้น ท่านจึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดช่องลม กาลต่อมาหลวงปู่จันทร์ได้นำไม้จันทน์หอมมาแกะสลักในส่วนองค์พระตั้งแต่พระอุระถึงพระบาท พระกร และบาตร เป็นไม้แก่นจันทน์หอมทั้งหมดสำเร็จเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่สง่างาม และได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในวิหารหลังเดิมของวัดช่องลม ช่วงฤดูน้ำเหนือหลากจะมีน้ำท่วมขังบริเวณวัดอยู่ประมาณ 2 เดือน ในระหว่างเดือน 10 ถึงเดือน 11 พื้นที่บริเวณวัดเป็นที่ลุ่ม วิหารที่หลวงพ่อแก่นจันทน์ประดิษฐานมีน้ำขังอยู่ตลอด 2 เดือนต่อมา หลวงพ่อแก่นจันทน์ได้มาเข้าฝันหลวงปู่เปาะ (พระราชเขมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลม รูปที่ 4) บอกว่าท่านเจ็บพระบาท ตอนเช้าหลวงปู่เปาะได้ให้พระไปตรวจดูหลวงพ่อแก่นจันทร์ในวิหาร ปรากฏว่าพระบาทหลวงพ่อแก่นจันทน์ถูกปลวกกัดกินเสียหายทั้งหมด หลวงปู่เปาะจึงได้บูรณะซ่อมแซมและลงรักปิดทองใหม่ แล้วอัญเชิญท่านมาประดิษฐานไว้ที่อุโบสถ และเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะ รวมถึงปิดทองด้วย ปัจจุบันนี้พระเทพญาณมุนี (ประเทศ กวีธโร ป.ธ.6) อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลม และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีได้สร้างวิหารทรงจัตุรมุข ประดิษฐานหลวงพ่อแก่นจันทน์ แทนที่พระอุโบสถที่บางครั้งทำสังฆกรรมไม่สดวกต่อการเข้าสักการะของประชาชนในบางโอกาสผมไปที่นี่ครั้งแรกเมื่อ 27 ก.พ. 58

Ta
รีวิว №2

ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม อ.เมือง จ.ราชบุรี หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธปฏิมา ศิลปะสมัยทวารวดี ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์นี้ลอยน้ำมาจาก จ.กาญจนบุรี เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สร้างด้วยโลหะทองคำสัมฤทธิ์ ส่วนล่างแกะสลักจากไม้จันทน์ซึ่งเป็นไม้เนื้อหอม สูงประมาณ 2.26 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องลม ชาวราชบุรีเคารพนับถือมาก มีประวัติเล่าสืบทอดกันมาว่า เป็นพระพุทธรูปที่ลอยมาตามลำน้ำแม่กลองตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวราชบุรีได้ร่วมใจกันอธิษฐานนำขึ้นประดิษฐานไว้สักการะเพื่อเป็นสิริมงคลหลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธปฏิมา ศิลปะสมัยทวารวดี ในส่วนตั้ง แต่พระเศียรถึงพระอุระ เป็นเนื้อทองสำริด ส่วนองค์พระสร้างด้วยไม้จันทน์หอม มีความสูงตั้งแต่พระเกศมาลาถึงพระบาท 2.26 เมตร เป็นพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร โดยบาตรขององค์หลวงพ่อ เหมือนสวมอยู่ในถุงบาตรและมีสิ่งหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้ว ยื่นออกมาจากขอบบาตร ซึ่งติดอยู่กับปากบาตรทั้งสองข้าง ดูแล้วเหมือนม้วนผ้าที่ยื่นออกมาสำหรับจับพระหัตถ์ของหลวงพ่อแก่นจันทน์จับอยู่ที่ม้วนผ้า คล้ายสะพายบาตร ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแปลกจากพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรทั่วไป เพราะเป็นลักษณะถือบาตร ที่ไม่มีในพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอื่น โดยยังเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมากหลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีธรรมที่สูงส่งยิ่ง ตามปกติมีผู้มากราบไหว้บูชาขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนใหญ่จะขอให้ช่วยปัดเป่าเหตุร้ายทุกวัน จนเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ จ.ราชบุรี ตลอดมาประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรีสำหรับการจัดสร้างหลวงพ่อแก่นจันทน์ พระครูโสภณปัญญาวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลมแห่งนี้ บอกเล่าว่า คนส่วนมากมักเข้าใจตามคำบอกเล่าว่า ท่านลอยน้ำมา คล้ายกับประวัติของหลวงพ่อบ้านแหลม และหลวงพ่อโสธร โดยมีเรื่อง เล่าสืบกันมาว่าหลวงพ่อแก่นจันทน์สร้างขึ้นที่ จ.กาญจนบุรี โดยมีชายผู้หนึ่งเข้าไปในป่าเพื่อแสวงหาของป่า ในขณะที่เดินทางเข้าไปในป่าลึกก็ได้พบกับเสือใหญ่ตัวหนึ่ง เมื่อเสือตัวนั้นเห็นเข้าก็วิ่งเข้ามาเพื่อจะทำร้าย ชายผู้นั้นเห็นเสือวิ่งเข้ามาก็ตกใจกลัวรีบวิ่งหนี และในขณะที่กำลังวิ่งหนีนั้นก็ได้ไปพบต้นไม้ใหญ่อยู่ข้างหน้าจึงรีบวิ่งขึ้น ไปบนค่าคบ ซึ่งเจ้าเสือตัวนั้นก็วิ่งตามไปจนถึงต้นไม้ใหญ่ชายผู้นั้นกลัวเสือจะกัดจึงได้ตั้ง สัตยาธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้ารอดพ้นจากอันตรายคือไม่ถูกเสือกัดในครั้งนี้ ตนจะนำเอาต้นไม้ที่ข้าพเจ้าขึ้นมาอาศัยอยู่นี้ไปแกะเป็นพระพุทธปฏิมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา ปรากฏว่าเมื่อชายผู้นี้ตั้ง สัตยาธิษฐานเสร็จเสือก็หายไป ชายผู้นั้นดีใจรีบลงมาจากต้นไม้ แล้ว กลับบ้านและได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตั้งสัตยาธิษฐานของตนให้ชาวบ้านฟัง รุ่งขึ้นชายคนนั้นก็ ได้ชวนชาวบ้านเข้าไปในป่า เพื่อตัดต้นไม้ที่ตนตั้งใจเอาไว้เพื่อจะนำมาแกะเป็นพระพุทธปฏิมา โดยได้มีการทำความเคารพเจ้าที่และเทวดาที่รักษาต้นไม้ และขอขมาโทษต่อต้านไม้ ต่อจากนั้นก็ช่วยกันโค่นเมื่อต้นไม้นั้น ล้มลงแล้วก็พิจารณาดูเนื้อไม้ก็ รู้ว่าเป็นไม้จันทน์หอมที่หายาก และได้ช่วยกันทอนกะให้ได้ความยาวเท่ากับพระที่ตนจะทำ เมื่อทำการแกะสลักเสร็จแล้วก็นำไปประดิษฐานไว้ที่บ้านแก่งหลวง เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชาตามประวัติเล่าว่า หลวงพ่อแก่นจันทน์นี้ลอยน้ำมาจาก จ.กาญจนบุรี สันนิษฐานว่า เมื่อหลวงพ่อแก่นจันทน์ ประดิษฐานอยู่ที่บ้านแก่งหลวงนั้น เมื่อถึงหน้าฝนมีน้ำหลากช่วงเดือน11 ถึงเดือน 12 ฝนคงจะตกหนักจนน้ำท่วมมาก เมื่อน้ำหลากมาถึงบ้านแก่งหลวงก็พัดพา เอาหลวงพ่อแก่นจันทน์ลอยไปถึงวัดใด ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำก็ตาม ประชาชนที่เห็นเข้าก็ช่วยกันฉุดกันดึงเพื่อจะนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดของตน แต่หลวงพ่อแก่นจันทน์ก็ไม่ยอมมา ไม่ยอมขึ้น แม้จะพยายามเท่าใดก็ไม่สำเร็จกระทั่งหลวงพ่อแก่นจันทน์ลอยมาถึงวัดช่องลม ท่านก็ได้ลอยวนอยู่หน้าวัดไม่ยอมไหลไปตามสายน้ำซึ่งกำลังไหลเชี่ยว หลวงปู่จันทร์ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงบอกให้พระสงฆ์และประชาชนมาทำความเคารพกราบไหว้และได้กล่าวอาราธนา แล้วก็พากันลงไปประคองและชะลอองค์ท่านขึ้นจากแม่น้ำ ท่านก็ขึ้นมาโดยง่าย ก่อนอัญเชิญท่านไปประดิษฐานไว้ที่วัดช่องลมแห่งนี้ พร้อมกับจัดงานสมโภชตลอดมาปัจจุบัน หลวงพ่อแก่นจันทน์ ประดิษฐาน อยู่ที่พระวิหารจตุรมุข โดยพระเทพญาณมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลม และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีได้จัดสร้างถวายเมื่อ พ.ศ.2522 ก่อน ที่พระครูโสภณปัญญาวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลมรูปปัจจุบัน จะได้ก่อสร้างศาลาหลวงพ่อแก่นจันทน์และขยายพระวิหารให้กว้างขึ้นอีก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มากราบไหว้นมัสการ

na
รีวิว №3

ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรีสำหรับการจัดสร้างหลวงพ่อแก่นจันทน์ พระครูโสภณปัญญาวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลมแห่งนี้ บอกเล่าว่า คนส่วนมากมักเข้าใจตามคำบอกเล่าว่า ท่านลอยน้ำมา คล้ายกับประวัติของหลวงพ่อบ้านแหลม และหลวงพ่อโสธร โดยมีเรื่อง เล่าสืบกันมาว่าหลวงพ่อแก่นจันทน์สร้างขึ้นที่ จ.กาญจนบุรี โดยมีชายผู้หนึ่งเข้าไปในป่าเพื่อแสวงหาของป่า ในขณะที่เดินทางเข้าไปในป่าลึกก็ได้พบกับเสือใหญ่ตัวหนึ่ง เมื่อเสือตัวนั้นเห็นเข้าก็วิ่งเข้ามาเพื่อจะทำร้าย ชายผู้นั้นเห็นเสือวิ่งเข้ามาก็ตกใจกลัวรีบวิ่งหนี และในขณะที่กำลังวิ่งหนีนั้นก็ได้ไปพบต้นไม้ใหญ่อยู่ข้างหน้าจึงรีบวิ่งขึ้น ไปบนค่าคบ ซึ่งเจ้าเสือตัวนั้นก็วิ่งตามไปจนถึงต้นไม้ใหญ่ชายผู้นั้นกลัวเสือจะกัดจึงได้ตั้ง สัตยาธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้ารอดพ้นจากอันตรายคือไม่ถูกเสือกัดในครั้งนี้ ตนจะนำเอาต้นไม้ที่ข้าพเจ้าขึ้นมาอาศัยอยู่นี้ไปแกะเป็นพระพุทธปฏิมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา ปรากฏว่าเมื่อชายผู้นี้ตั้ง สัตยาธิษฐานเสร็จเสือก็หายไป ชายผู้นั้นดีใจรีบลงมาจากต้นไม้ แล้ว กลับบ้านและได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตั้งสัตยาธิษฐานของตนให้ชาวบ้านฟัง รุ่งขึ้นชายคนนั้นก็ ได้ชวนชาวบ้านเข้าไปในป่า เพื่อตัดต้นไม้ที่ตนตั้งใจเอาไว้เพื่อจะนำมาแกะเป็นพระพุทธปฏิมา โดยได้มีการทำความเคารพเจ้าที่และเทวดาที่รักษาต้นไม้ และขอขมาโทษต่อต้านไม้ ต่อจากนั้นก็ช่วยกันโค่นเมื่อต้นไม้นั้น ล้มลงแล้วก็พิจารณาดูเนื้อไม้ก็ รู้ว่าเป็นไม้จันทน์หอมที่หายาก และได้ช่วยกันทอนกะให้ได้ความยาวเท่ากับพระที่ตนจะทำ เมื่อทำการแกะสลักเสร็จแล้วก็นำไปประดิษฐานไว้ที่บ้านแก่งหลวง เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชาตามประวัติเล่าว่า หลวงพ่อแก่นจันทน์นี้ลอยน้ำมาจาก จ.กาญจนบุรี สันนิษฐานว่า เมื่อหลวงพ่อแก่นจันทน์ ประดิษฐานอยู่ที่บ้านแก่งหลวงนั้น เมื่อถึงหน้าฝนมีน้ำหลากช่วงเดือน 11 ถึงเดือน 12 ฝนคงจะตกหนักจนน้ำท่วมมาก เมื่อน้ำหลากมาถึงบ้านแก่งหลวงก็พัดพา เอาหลวงพ่อแก่นจันทน์ลอยไปถึงวัดใด ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำก็ตาม ประชาชนที่เห็นเข้าก็ช่วยกันฉุดกันดึงเพื่อจะนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดของตน แต่หลวงพ่อแก่นจันทน์ก็ไม่ยอมมา ไม่ยอมขึ้น แม้จะพยายามเท่าใดก็ไม่สำเร็จกระทั่งหลวงพ่อแก่นจันทน์ลอยมาถึงวัดช่องลม ท่านก็ได้ลอยวนอยู่หน้าวัดไม่ยอมไหลไปตามสายน้ำซึ่งกำลังไหลเชี่ยว หลวงปู่จันทร์ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงบอกให้พระสงฆ์และประชาชนมาทำความเคารพกราบไหว้และได้กล่าวอาราธนา แล้วก็พากันลงไปประคองและชะลอองค์ท่านขึ้นจากแม่น้ำ ท่านก็ขึ้นมาโดยง่าย ก่อนอัญเชิญท่านไปประดิษฐานไว้ที่วัดช่องลมแห่งนี้ พร้อมกับจัดงานสมโภชตลอดมา

an
รีวิว №4

มากราบขอพรหลวงพ่อทุกครั้งที่มาราชบุรี

SA
รีวิว №5

อีกที่หนึ่งควรมาสักการะ

#ไ
รีวิว №6

เป็นพระอารามหลวง มีพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวราชบุรีเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง คือ หลวงพ่อแก่นจันทร์

อภ
รีวิว №7

ที่วัดช่องลมนี้ มีหลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ใครได้มาทำงาน หรือ ย้ายมารับราชการที่ จ.ราชบุรี ควรมาสักการะบูชา เพื่อความเจริญแก่หน้าที่การงาน และความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

คุ
รีวิว №8

พระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดราชบุรี. มาราชบุรีแล้วอย่าลืมมากราบสักการะหลวงพ่อแก่นจันทร์นะครับ

Ra
รีวิว №9

พระคู่บ้านคู่เมืองราชบุรีครับ มีโอกาสมาก็กราบไหว้กันสักครั้งนะครับ

To
รีวิว №10

มากราบขอพรหลวงพ่อแก่นจันทร์

wo
รีวิว №11

ต้องมาไหว้ครับ

ชู
รีวิว №12

สาธุครับ

จา
รีวิว №13

สงบ

Ak
รีวิว №14

สงบ

ข้อมูล
50 ภาพถ่าย
14 ความคิดเห็น
5 เรตติ้ง
  • ที่อยู่:เขางู, ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี, ราชบุรี 70000
หมวดหมู่
  • สถานที่บูชาทางศาสนา
องค์กรที่คล้ายกัน